ผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ.2522
หมายความว่าผู้ซื้อ หรือ ผู้ได้รับ
บริการจากผู้ประกอบธุรกิจ
หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ
เพื่อให้ซื้อสิน่ค้าหรือรับบริการ รวมถึงผู้ใช้สินค้า
หรือผู้ได้รับบริการจากผู้
ประกอบธุรกิจโดยชอบ ผู้บริโภคจึงมีความสำคัญมาก
ต่อระบบเศรษฐกิจการตลาดของประเทศ นับได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางความสนใจของ
ผู้ประกอบธุรกิจมากถึงขนาดว่า ผู้บริโภคคือ
พระราชา แต่ในความหมาย
ของตลาด ก็คือ คนซื้อ คนใช้บริการนั้นเอง
ถึงแม้ว่า ผู้บริโภคจะมีความสำคัญมากขนาดไหน
สำหรับผู้ประกอบการ
แต่ก็ยังมิวายที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจากการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ขาดคุณธรรม และความรับผิดชอบของผู้ประกอบ
การบางราย
3
สิทธิ์ของผู้บริโภคในระดับสากล
ในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มีการตื่นตัวและเปลี่ยนแปลงในเรื่องการรักษาสิทธิ์
แต่ส่วนมาก
ก็ยังขาดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ์ต่างๆ ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
แต่ไม่ทราบถึงวิธีการเลือกซื้อ
สินค้าและบริการที่ถูกต้ององค์กรสหพันธ์ผู้บริโภค
( International Organization of Consumer Union ) ได้
กำหนดสิทธิ์ผู้บริโภคไว้ 8 ประการ คือ.......
1. สิทธิ์ที่จะได้รับความปลอดภัย
2. สิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร
3. สิทธิ์ที่จะได้รับเครื่องอุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม
4. สิทธิ์ที่จะเรียกร้องความเป็นธรรม
5. สิทธิ์ที่จะได้รับค่าชดใช้ความเสียหาย
6. สิทธิ์ที่จะได้รับบริโภคศึกษา
7. สิทธิ์ที่จะได้รับควมจำเป็นขั้นพื้นฐาน
8. สิทธิ์ที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด
สิทธิ์ทั้ง
8
ประการนี้ถือเป็นบรรทัดฐานให้แก่ประเทศต่างๆ
เพื่อนไปเป็นแนวทางในการดูแลมิให้ผู้บริโภค
ในประเทศถูกเอารัดเอาเปรียบ
จากการดำเนินชีวิตภายใต้ระบบการค้าเสรีตามแนวทางทุนนิยม
ระบบการค้าเสรี คือ
รูปแบบการค้าประเภทหนึ่ง
ที่ปล่อยให้การซื้อขายสินค้าหรือบริการทำการซื้อขายกันในตลาด
ได้อย่างอิสระโดยอยู่ภายใต้กรอบและกฎเกณฑ์ของกฎหมาย
ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค
ในหลาย ๆ ด้าน
เช่น การแข่งขันในด้านการผลิตสินค้า การพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของสินค้า
การหาช่อง
ทางการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบใหม่
รวมทั้งพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค สภาพการตลาดการค้า
เสรีในปัจจุบัน
เน้นอิสรภาพในการซื้อขายเป็นหลัก ทำให้มีกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ จากผู้ประกอบการ
เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งในบางครั้งผู้บริโภคตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบจากการประกอบการ
ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า
หรือบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน
หรือการกักตุนสินค้าจนทำให้สินค้าขาดแคลนและมีราคาแพง ดังนั้นผู้บริโภค
อย่างเราจึงต้องปกป้องสิทธิ์ตามที่กฎหมายคุ้มครอง
และในเมื่อเรามีสิทธิ์เราต้องใช้สิทธิ์ปกป้องผลประโยชน์ของ
ตนเอง หากละเลยและไม่ใช้สิทธิ์อันชอบธรรมนั้น
ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบเราต่อไป
สิทธิผู้บริโภคไทย 5
ประการ
กระแสความคิดในการคุ้มครองผู้บริโภคมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในระดับนานาชาติเท่านั้น
ประเทศไทย
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค และได้มีการออกกฎหมายที่กล่าวถึงสิทธิ์
ผู้บริโภคในภาพรวม ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ.2522 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี
พ.ศ. 2541
กำหนดให้ผู้บริโภคไทยได้รับสิทธิ์ 5
ประการ คือ....
1. สิทธิ์ที่จะได้รับข่าวสาร
รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
2. สิทธิ์ที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
3. สิทธิ์ที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
4. สิทธิ์ที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
5. สิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ปัจจุบันมีสินค้าและบริการอยู่ใน
ตลาดสินค้ามากมาย
ในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภค
เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ดีและมีคุณภาพจาก
ผู้ประกอบการ
และเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ
ผู้บริโภคควรคิดพิจารณาในเรื่องของข่าวสาร
ข้อมูลที่มี มากับตัวสินค้า
ไม่หลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริง และเลือกดูว่าสินค้าที่จะเลือกใช้นั้นมีความจำเป็น
หรือไม่อย่างไร
แล้วรวมกลุ่มกันระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง เพื่อเป็นกลุ่มพลังต่อรองทางการค้า
และเป็น
หนทางรักษาซึ่งสิทธิ์
ของผู้บริโภคจากผู้ประกอบการ
หลักการง่ายๆ ในการปกป้องสิทธิ์ เบื้องต้นของผู้บริโภค
ผู้บริโภคยุคใหม่จำเป็นที่จะต้อง ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้
เพื่อให้เงินที่จ่ายไปมีค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ คือ
ต้องรู้จักการปกป้องสิทธิ์ของตัวผู้บริโภคในการเลือกซื้อ เลือกใช้
ในบริการหรือสินค้านั้นๆ ในปัจจุบัน
มีสินค้าหรือบริการมากมาย หลายหมวด หลายอย่างที่ทางราชการกำหนด
ให้มีการปิดป้ายแสดงราคา เพื่อต้องการให้ผู้บริโภค มีโอกาสเปรียบเทียบ
ราคาก่อนการตัดสินใจซื้อ และควร
ใส่รายการสินค้าที่ต้องปิดป้ายแสดงราคา
พร้อมทั้งหมายเหตุรายการสินค้ากำหนดให้ปิดป้ายแสดงราคานั้น
สามารถ ปรับเปลี่ยน ได้ตามสถานการณ์
หากผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อหรือเลือกใช้บริการนั้น อย่าลืม เรื่องการ
เปรียบเทียบราคา และไม่ควรเห็นว่าโฆษณาในสินค้าหรือบริการนั้น
ๆ น่าสนใจหรือซื้อตามผู้อื่น ควรที่จะ
รู้จักการประยุกต์ใช้สินค้าทดแทน ในกรณีที่
สินค้าหรือการบริการนั้น ๆ
มีราคาสูงขึ้นในบางช่วง บางเวลา
ควรใช้สินค้าอื่นที่มีอยู่ในท้องตลาดทั่วไปแต่มีคุณสมบัติใกล้เคียงทดแทนกันได้
ผู้บริโภคยุคใหม่ รู้จักใช้สิทธิ์ รู้จักเลือกซื้อ
ผู้บริโภคยุคใหม่ รู้จักใช้สิทธิ์ รู้จักเลือกซื้อหรือบริการ จำเป็น
หรือไม่ ถ้า จำเป็น แต่แพง มองหา
อย่างอื่นทดแทนถ้าไม่จำเป็น เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย งดซื้อไม่ต้องรีบซื้อ
ตรวจสอบราคา ถามผู้เคยใช้ ดูราคา
อ่านฉลาก ให้ถี่ถ้วนปกป้องสิทธิ์ทำได้ด้วยวิธีไหน
ก่อนการตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการในสินค้านั้น ผู้บริโภค
ควรที่จะศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น นำอะไรมาเป็นวัตถุดิบ มีสรรพคุณตามที่กล่าว
อ้างหรือไม่
ควรอ่านฉลากให้เข้าก่อนการตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการ
และที่สำคัญเปรียบเทียบราคากับสินค้า
หรือ
บริการชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อหรือสินค้าทึ่คล้ายกัน ทดแทนกันได้ แต่ราคาถูกกว่า
เพื่อให้ได้มาอย่าง
คุ้มค่ากับเงินที่เราต้องจ่ายไป
วิธีการเหล่านี้เป็นการปกป้องสิทธิ์พื้นฐานของผู้บริโภคยุคใหม่ปิดป้ายราคาได้
ประโยชน์ทั้ง
2 ฝ่ายประโยชน์ของผู้ซื้อ ประโยชน์ของผู้ขาย
คือ...
1. ไม่เสียเวลาสอบถามราคา 1. ไม่ต้องจดจำราคาสินค้า
2. สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้
2. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า
3. เพิ่มความสะดวกสบายในการซื้อ 3. เพิ่มความสะดวกสบายในการขาย
4. ตัดสินใจซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว 4. แสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจในการขาย
เรื่องง่ายๆ ประการหนึ่ง
ที่ทำได้ทันที คือ
การปิดป้ายแสดงราคาสินค้า
ทำให้สะดวกในการที่จะซื้อหรือขาย ให้โอกาสลูกค้าในการ
"เปรียบเทียบราคา" และตัดสินใจ
"ได้ตามกำลังซื้อ" เป็นผลดีแก่เจ้าของธุรกิจที่ไม่ต้อง
"จดจำราคา" ไว้คอย
"ตอบคำถาม"ทำให้เกิดการต่อรองราคาสินค้าและร้านค้าเองก็ได้รับ
การยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้นด้วย
เริ่มต้นปกป้องสิทธิ์ตั้งแต่วันนี้... ด้วยตัวผู้บริโภคเอง
จุดเริ่มต้นของการปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภค ควรที่จะเริ่มต้นจากตัวผู้บริโภคเอง
..ด้วยการตั้งคำถามกับตัวเอง
เสมอว่าสินค้าที่ซื้อหรือบริการที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน
ราคาเป็นธรรมหรือไม่ หรือ จ่ายเงินไปคุ้มค่า
กับคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
ที่ได้รับหรือเปล่า หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ราคาสินค้า หรือ
การบริการนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ได้มาตรฐาน อย่า
ยอมอยู่ นิ่ง หรือ เพิกเฉย ควรเรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับ
ตัวผู้บริโภคเอง ด้วยการ
สอบถามโดยตรงจากผู้ประกอบการ ให้ตรวจสอบกราคาสินค้า หรือบริการนั้น ๆ
อีกครั้งหนึ่ง......
หากยังไม่ได้รับการแก้ไขข้อผิดพลาด
ควรบอกกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนิน
การกับเรื่องที่เกิดขึ้น
และที่สำคัญอย่าลืมกระจายข่าวบอกต่อ ๆ กันไปยังผู้บริโภคด้วยกัน
เพราะการอยู่รอดของ
ธุรกิจที่มั่นคงยั่งยืนอยู่ที่
"ลูกค้า" หรือผู้บริโภค ไม่มีผู้บริโภค ไม่มีผู้ประกอบธุรกิจ
ไม่มีลูกค้า ในยุคการค้าเสรี
"จริยธรรมทางการค้า"
ก็คือจิตสำนึกที่ดีในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า
และบริการที่มีคุณภาพ มีราคาที่เป็นธรรม
มีปริมาณของสินค้าที่สมดุลย์กับราคา ไม่เอาเปรียบและหลอกลวง
ผู้บิรโภค ไม่โฆษณาเกินจริง เพราะเห็นการณ์ไกลที่ว่า
" คนซื้ออยู่ได้ คนขายอยู่รอด มีลูกค้าถาวรดีกว่า
มีลูกค้าขาจรครั้งเดียว "
อย่างละเลยรับรู้ข่าวสาร เพื่อปกป้องสิทธิ์
สิทธิ์ของผู้บริโภคตามกฎหมายอีกประการหนึ่ง
ที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องใช้สิทธิ์นั้นได้อย่างเต็มที่ คือ
สิทธิ์ที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาในสรรพคุณของสินค้าหรือบริการนั้นๆ
ได้อย่างถูกต้องและเป็นความ
จริงมากที่สุด การที่กฎหมายระบุเอาไว้เช่นนี้
หมายความว่า ผู้ประกอบการมีหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือ
บริการแก่ผู้บริโภคให้มากพอที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้น
ๆ และข้อมูลที่
ผู้ประกอบการต้องให้แก่ผู้บริโภคที่สำคัญก็คือ
ฉลากที่ชัดเจน ข้อมูลหรือส่วนผสม หรือการใช้งานในสินค้า
หรือ ปริมาณสุทธิเท่าใด ราคาเท่าใด
มีเงื่อนไขการขายอย่างไรบ้าง อายุการใช้งานในสินค้าหรือการบริการ
นั้น ๆ
นานแค่ไหน ข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคควรรู้ก่อนการตัดสินใจ
หากผู้ประกอบการไม่ให้ข้อมูล
หรือให้ไม่มากพอผู้บริโภคสอบถามให้กระจ่างจากผู้ขายก่อนการตัดสินใจ
หรือสอบถามความรู้จากแหล่งหรือ
หน่วยงานอื่น ๆ
ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการนั้น ๆ ก่อนที่จะซื้อสินค้าชนิดใดผู้ซื้อ
หรือผู้บริโภคเอง ควรจะ.....
1. ตรวจสอบป้ายราคาทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ
2. สืบถามแหล่งที่มาของสินค้าจากผู้ที่เคยใช้
3. สืบเสาะข้อมูลสินค้า
เพราะสินค้ามีความหลากหลายสามารถใช้
ทดแทนกันได้
4. ศึกษาข้อมูลจากฉลาก
ตรวจสอบสภาพสินค้า วิธีการเก็บรักษาของร้าน
นั้นว่า เหมาะสมและปลอดภัยหรือไม่
5. ตรวจดูการชั่ง
ตวง วัด ขณะซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
6. ตรวจสอบใบเสร็จรับเงินให้ดีก่อนจ่ายเงินทุกครั้ง
ผู้บริโภคยุคใหม่ รู้จักใช้สินค้า ทดแทน...
อ่านฉลาก ดูราคา ให้รอบคอบ
ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องรอบคอบ
และใช้จ่ายเงินอย่างรู้คุณค่า ...
เป็นสูตรสำเร็จของผู้บริโภค
อีกวิธีหนึ่งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ หรือใช้บริการนั้น ผู้บริโภคต้องดูคุณภาพ
สินค้า และประโยชน์ที่จะได้รับ
โดยคำนึงถึงจำนวนเงินที่พร้อมจ่ายกับราคา คุณภาพ และปริมาณของสินค้า
ที่ซื้อ
ว่าซื้อแล้วได้ผลคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่จ่ายไป
และสนองต่อความต้องการและความจำเป็นหรือไม่ แต่ถ้า
สินค้านั้นขาแคลนหรือมีราคาแพง
ผู้บริโภคควรที่จะรู้จักใช้สินค้าทดแทน เช่น เนื้อหมูราคาแพงเกินไป
ก็บริโภคเนื้อไก่ทดแทนได้
ฉลาก
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเลือก หรือตัดสินใจซื้อ หรือใช้บริการนั้น
ฉลากสินค้า คือข้อความที่
ปรากฎบนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าให้รายละเอียดข้อมูลของสินค้า
เช่น ชื่อสินค้า ผู้ผลิตวัน/เดือน/ปี ที่ผลิต
วันหมดอายุ ประโยชน์ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา
ปริมาณ หรือน้ำหนัก รวมทั้งเครื่องหมายรับรองต่างๆ ที่ทำให้
ผู้บริโภครู้จักสินค้าดีขึ้น
ช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค นอกเหนือจากการเปรียบเทียบราคา
( ส่วนประกอบของสินค้า )
บริหารเวลาเพื่อเลือกซื้อ เลือกใช้
ในสินค้าหรือบริการนั้น อย่างมีคุณภาพ....
ผู้บริโภคที่ดี ควรรู้จักบริหารเวลาเพื่อเลือกซื้อ
เลือกใช้ในสินค้าหรือบริการนั้นอย่างมีคุณภาพ มีการวางแผน
การซื้อ รู้จักเลือกในสิ่งที่ควรเลือก
สินค้าบางอย่างหรือบริการบางอย่าง อาจจะต้องใช้เวลามากในการตัดสินใจ
หรือสินค้าเกษตรบางอย่างในฤดูกาลหรือเวลานี้ไม่มี
หรือมีแต่ราคาแพง คุณภาพไม่ดี ผู้บริโภคก็ควรที่จะงดใช้
สินค้านั้นเป็นการชั่วคราว
แต่ถ้ามีความจำเป็นจริง ๆ ผู้บริโภคควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสินค้าทีมา
ทดแทนกันได้
ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับในการบริหารเวลาเพื่อเลือกซื้อ เลือกใช้ ในสินค้า
หรือบริการ
นั้น ๆ ก็คือ ประหยัดและไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
ไม่ถูกล่อลวง ให้ซื้อสินค้า หรือใช้บริการ ในสิ่งที่ไม่จำเป็น
ที่ผู้บริโภคไม่ได้วางแผนล่วงหน้าเวลามีส่วนเกี่ยวข้องในการซื้อสินค้า
2 ลักษณะที่ผู้บริโภคควรคำนึงถึง....
1. เวลาที่ใช้ในการซื้อจะต้องใช้อย่างประหยัด
ได้สิ่งที่ต้องการครบ ทำได้โดยการวางแผน
การซื้อการใช้
ในสินค้าหรือบริการล่วงหน้าไว้ก่อนเป็นการวางแผนที่ผู้บริโภคยุคใหม่
ต้องใสใจ
2. เวลาที่สินค้าออกสู่ตลาด...
ผู้บริโภคจะซื้อได้ในราคาไม่แพงและเป็นของที่มีคุณภาพ
เช่น
ซื้อของตามที่มีในฤดูกาลนั้นๆ ถ้าไม่มีตามฤดูกาลก็ใช้สินค้าทดแทนกัน
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
มีสาระสำคัญที่สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ โดยกฎหมายกำหนดไว้ ๕ ประการคือ
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
2. การก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือ
1. พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย
เนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ
2. ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค
และข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควรทราบ
3. การกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญได้แก่
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
ความหมายของการบริโภคและผู้บริโภค
ผู้บริโภคหมายถึง
ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ
หรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า
หรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค
ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและเอกชน
ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประชาชน ในฐานะผู้บริโภค
ได้รู้จักคุ้มตรองสิทธิของตนเอง โดยไม่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
ที่ต้องทนอยู่ในภาวะจำยอมไปโดยตลอด อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลหรือเอกชนฝ่ายเดียวย่อมไม่อาจดำเนินการ ให้สำเร็จไปได้ด้วยดี ผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนที่สำคัญ
ในการที่จะคุ้มตรองสิทธิของตนเอง อย่างไรก็ตามเราพบว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากที่ละเลย
เพิกเฉยที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเอง แม้ว่าจะถูกเอารัดเอาเปรียบ
หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคสินค้า ในลักษณะและรูปแบบต่างๆ
ที่มักเป็นปัญหาของผู้บริโภค
สิทธิผู้บริโภค
ผู้บริโภคต้องมีความรอบคอบฉลาดในการตรวจสอบแสดงสินค้า
คุณภาพปริมาณ และราคาว่ายุติธรรม สมควรซื้อมาบริโภคหรือไม่
อาจสำรวจสินค้าชนิดเดียวกันจากหลายๆร้าน
โดยไม่เชื่อข้อความโฆษณาทันที แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า
ว่าจริงตามที่โฆษณาไว้หรือไม่
- สิทธิจะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนา
คุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอกับสินคและบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมทางสัญญา
- สิทธิที่จะได้รับความพิจารณา
และชดเชยความเสียหาย
สิทธิผู้บริโภคสากล
ถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธุ์ผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503
ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์มี 8 ประการดังนี้
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย
- สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร
- สิทธิที่จะได้รับเครื่องมืออุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม
- สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม
- สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะได้รับบริโภคศึกษา
- สิทธิที่จะได้รับความจำขั้นพื้นฐาน
- สิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด
แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย
1.ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้า
และบริการสุขภาพ
ผู้บริโภคต้องสามารถแยกความต้องการของตัวเองได้ ว่าเป็นความต้องการแท้ อะไรเป็นความต้องการเทียม
แล้วพิจารณาในการเลือกซื้อให้ดีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
2.สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทุกชนิด
ควรศึกษาฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง
อย่างน้อยต้องมีฉลากภาษาไทย ชื่อของผลิตภัณฑ์และที่ตั้งของผู้ผลิต หรือ
ผู้แทนจำหน่าย
วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ
สำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีการแสดงส่วนประกอบหรือตำหรับ วิธีบริโภค
ข้อควรระวังในการใช้หรือข้อจำเพราะอื่นๆ
ของแต่ผลิตภัณฑ์เพิ่มด้วย
หากเราอ่านฉลากจะมีประโยชน์ช่วยให้เราทราบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องสามารถหลีกเลียงสารบางชนิดที่ทำให้เกิดการแพ้เกิดปัญหาในการบริโภค
เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการได้ นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องจากผลิตภัณฑ์สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินต่อผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายได้ตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏในฉลากด้วยหลังซื้อสินค้าหรือบริการเราจะต้องเก็บรักษาหลักฐานต่างๆ เช่น
เอกสารโฆษณา บิลเงินสด สำเนาใบเสร็จรับเงิน
สัญญาซื้อขายเพื่อไว้ทำการเรียกร้องสิทธิของตนและควรจดชื่อสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้เพื่อประกอบการร้องเรียนในกรณีถูกละเมิดสิทธิ
3.ในการซื้อผลิตภัณฑ์
สินค้าหรือบริการสุขภาพจะต้องมีความระเอียดในความพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสินค้าและบริการให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ อย่าให้เสียเปรียบผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ
4.ถ้าพบว่ามีผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน
ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที่
เพื่อจะได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
5.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่สุขภาพได้มาตรฐาน หรือมีการรับรองคุณภาพกล่าว คือ
มีเครื่องหมาย มอก. หรือมี อย.
เป็นต้น
6.ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรม
ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการให้ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค
การปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภค
ผู้บริโภคควรคำนึงถึงบทบาท
หรือหน้าที่ในการปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภคที่พึงกระทำด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผู้บริโภคจะได้มีส่วนได้รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิของตนเอง โดยมีการปฏิบัติดังนี้
1.การรวมกลุ่มหรือการรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเมื่อได้รับความเดือดร้อนหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือประสบปัญหาจากการบริโภค
จึงทำไห้ผู้บริโภครวมตัวกันก่อไห้เกิดพลังของผู้บริโภคขึ้นในการเคลื่อนไหวหรือต่อรอง
ซึ้งพลังของผู้บริโภคนี้จะทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวในการใช้สิทธิและการรักษาผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ
2.ศึกษาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต วิทยุ
โทรทัศน์
วารสารหรือหนังสืออื่นๆ
เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคเพื่อให้มีความรู้และความรอบคอบในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
3.มีส่วนในการเผยแพร่ความรู้และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสามารถทำได้หลายรู้แบบ เช่น
การพูดคุย การชี้แจง ประชาสัมพันธ์
การใช้เสียงตามสายหอกระจายข่าว
ประชาชนผู้บริโภคหรือเด็กนักเรียน
เยาวชนผู้บริโภคทุกคนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ได้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ เลือกซื้อสินค้าและบริการอย่าปรอดภัย เป็นธรรมและประหยัด เช่น
กิจกรรม อย.น้อย
เป็นกิจกรรมที่ทำไห้นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและช่วยเหลือผู้อื่น เช่น
เพื่อน ครอบครัว ชุมชน
ด้วยการไห้ความรู้ทางด้านบริโภคอย่างเหมาะสม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
1.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่รับแของผู้บริโภค ที่ไห้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการธุรกิจ สอดส่องพฤติการณ์
และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคไห้ผู้บริโภค
2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต การจำหน่ายและโฆษณาต่างๆ ได้แก่ อาหาร
เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ยา
เรื่องมือแพทย์
และวัตถุเสพติดไห้โทษ
ไห้เป็นไปตากฎหมาย
3.กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
โดยกองโภชนาการมีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและไห้คำปรึกษาแนะนำวิชาการด้านโภชนาการ
4.กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ควบคุมสินค้าไห้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและไม่ไห้ผู้บริโภคเสียเปรียบ
5.กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่ควบคุมปริมาณ การชั่ง ตวง
และวัดสินค้า
6.กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน
7.สำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
มีหน้าที่กำหนดและติดตามตรวดสอบมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม
8.กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษทางการเกษตร
9.คณะอนุกรมการคุมครองผู้บริโภคประจำจังหวัด มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากผู้บริโภค
ถ้าผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรม ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบการ ผู้บริโภคสามารถไปแจ้งตามหน่วยงานต่างๆ
ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องนั้นๆทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตนที่พึงมีตามกฎหมาย
สิทธิ 5
ประการของผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ.2522
เเละแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2541 ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองผู้บริโภคไว้ 5
ประการ ดังนี้
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องเเละเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการเเสดงฉลากตามความเป็นจริงปราศจากพิษภัยและรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องเเละเพียงพอ
2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าเเละบริการ
ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือก๙อสินค้าหรือบริการโดยความสมัครใจ ปราศจากการชักจูงที่ไม่เป็นธรรม
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพมาตรฐาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินหากใช้ตามคำเเนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าและบริการนั้น
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา
ผุ้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายเมื่อถูกละเมิดสิทธิจากข้อ 1, 2,3 เเละ 4 ดังกล่าว